.JPG) (1).JPG) (2).JPG) (2).JPG) (1).JPG)
ประวัติของ ศูนย์การเรียนชุมชน
กศน.ตำบลดงเจน ตั้งอยู่เลขที่ 203 บ้านกว้านใต้ หมู่ที่ 3 ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา โดยได้ย้ายมาจากที่ตั้ง หมู่ 13 ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นระยะเวลา 8 ปี เริ่มแรกจัดตั้งเป็นที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้านและเป็นสถานที่ดำเนินการขององค์การบริหารตำบลดงเจน ต่อมาองค์การบริหารส่วนตำบลดงเจนได้ย้ายอาคารสำนักงานไปตั้งอยู่ใกล้กับที่ว่าการอำเภอภูกามยาว ต่อมาทางเทศบาลตำบลดงเจนได้เข้ามาดำเนินการต่อและได้ใช้เป็นสถานที่บริการสำหรับประชาชนในเขตพื้นที่และประชาชนทั่วไปทางศูนย์การเรียนชุมชนได้รับความอนุเคราะห์จากทางเทศบาลตำบลดงเจนให้ใช้สถานที่ของทางเทศบาลเพื่อทำการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมของทาง กศน.ตำบลดงเจน ต่อมาทางเทศบาลตำบลดงเจนได้ขยายเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนและห้องสมุดเทศบาลตำบลดงเจนและได้พัฒนาปรับปรุงเป็นศูนย์การเรียนชุมชนตำบลดงเจน โดยดำเนินการร่วมกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเปิดการเรียนการสอนสายสามัญ สายอาชีพ และการศึกษาตามอัธยาศัย จนถึงปัจจุบันมีประชากรชุมชนตำบลดงเจน 8,936 คน ต่อมาในปี 2554 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงาน กศน. ก่อสร้างอาคารเรียน กศน.ตำบลขึ้น จึงได้ย้าย กศน.ตำบลดงเจน มาตั้งอยู่เลขที่ 203 บ้านกว้าน หมู่ที่ 3 ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
ต่อมาได้ย้ายสังกัดจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาอำเภอเมืองพะเยามาเป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว ปี 2551 ต่อมา สำนักงาน กศน. ได้มอบนโยบายให้สำนักงาน กศน.จังหวัด ดำเนินการจัดให้มีการจัดตั้งกศน.ตำบล ตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2552 มอบนโยบาย ปรับให้ครูศูนย์การเรียนชุมชนเป็น หัวหน้า กศน.ตำบลโดยเริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2552 ปัจจุบัน นางสาวสายสุดา เผ่าฟู ปฏิบัติงานในตำแหน่ง หัวหน้า กศน.ตำบลดงเจน มีนางสาวภัทรนิษฐ์ ขันโคกเครือ เป็นครู กศน.ตำบล รับผิดชอบ กศน.ตำบลดงเจน และมีนางสาวธัญสินี สิงห์แก้ว ปฏิบัติงานในตำแหน่งครูอาสาสมัคร กศน.อำเภอภูกามยาว และ นางวารณี วิชัยศิริ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูกามยาว ตั้งแต่ 14 กรกฏาคม พ.ศ. 2551 มาจนถึงปัจจุบัน
กลยุทธ์
1. ลุยถึงที่ ถึงถิ่น
ทำงานโดยให้บริการถึงที่ถึงถิ่น ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายประชากรวัยแรงงาน และกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ในอำเภอภูกามยาวอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกหมู่บ้านหรือชุมชน
2. ตอบโจทย์ในใจผู้เรียน
การดำเนินการแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนนั้น ผู้เรียนจะเกิดความรู้ใหม่ ใช้หลักเทียบต่อยอดความรู้ในทุกรูปแบบ
3. มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
เปิดโอกาสและช่องทางการเรียนรู้สู่ประชากรวัยแรงงาน และกลุ่มเป้าหมายประชาชนในอำเภอภูกามยาวเน้นให้มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
4. ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย
จัดส่งเสริมและสนับสนุน ประสานงานผนึกกำลังภาคีการจัดการศึกษานอกระบบ และ การศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึงเต็มที่ โดยมีภาคีเครือข่ายร่วมจัด
5. บริการเปี่ยมคุณภาพ
พัฒนาระบบบริหาร และการบริการทุกระดับประทับใจเปี่ยมคุณภาพ
เป้าหมาย/ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. ผู้เรียนและผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา
2. ผู้เรียนและผู้รับบริการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับดีภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบ
เข้าชม : 1348 |